<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000

คำเตือนนักเขียนใหม่


การเกิดเป็นนักเขียนนั้นยากยิ่งนัก

แต่กว่าจะดังนั้นยากยิ่งกว่าหลายเท่า

และที่ลำบากที่สุดคือการรักษาความดัง

เพราะมีองค์ประกอบหลายอย่าง

ถ้าผลงานดีจงระวังอย่างงกจนเกินงาม

ปกติแล้วสำนักพิมพ์เขาเสี่ยงมาก ๆ ที่จะพิมพ์ผลงานของนักเขียนหน้าใหม่

ผลงานเล่มแรก ๆ จึงมักจะเป็นการซื้อขาด

จนบางครั้งนักเขียนลืมไป---ลืมตัว

ถ้ารู้จักทำใจและดีใจที่เราได้เกิด

และเอาโอกาสนั้นมาปรับปรุงงานหรือสร้างผลงาน ก็จะเป็นความสุขของทุกฝ่าย

ผมเคยมีเรื่องที่บันทึกและอยากฝากไปถึง นักเขียนที่บังเอิญดังขึ้นมาไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ดังนี้ครับ----

ก่อกองทราย ใคร ๆ ก็รู้จักหนังสือรางวัลซีไรท์เล่มนี้ ถึงวันนี้ ตุลาคม 2543 พิมพ์มาแล้ว 28 ครั้งราคาล่าสุดเล่มละ 110 บาท พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2528 เล่มละ 25 บาท ถือเป็นหนังสือซีไรท์ที่น่าอ่านและมียอดขายมากที่สุดเล่มหนึ่งและคงจะขายได้ตลอดไป แต่เบื้องหลังการได้ซีไรท์นั้นเกี่ยวข้องกับสุสานเมืองหนังสือโดยตรง เรื่องมีอยู่ว่า หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจของคุณบัญชา ล่ำซำ---ขอโทษ บัญชา เฉลิมอะไรจำไม่ได้…..วางตลาด หนึ่งปีขายได้ไม่ถึงห้าร้อยเล่ม ก็เลยนำส่งสุสาน เมืองหนังสือแถวหัวหมาก โดยคุณอุดร ผู้จัดการสำนักพิมพ์ขณะนั้นเป็นผู้เดินนำหน้าถือกระถางธูป ไปส่งเข้าสุสาน หลังจากที่เอามีดกรีด-อก แก้ไข ---กรีดสันหนังสือจนเห็นสีแดง ๆ คล้ายเลือด และขอค่าใช้จ่ายในการส่งเล่มละบาทเดียว

ทางสุสานได้นำก่อกองทรายไปขายตามโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ร่วมกับหนังสือเลหลังทั้งหลายเล่มละ 5 บาท แต่ขายไม่ค่อยได้ เลยแจกเป็นหนังสือแถม บางรายก็ไม่ยอมรับ เรื่องมันก็น่าจะจบเพียงเท่านั้น

แต่ถึงคราวจะดังใครจะห้ามก็ไม่ได้ เพราะต่อมาไม่นานคณะกรรมการคัดเลือกหนังสือชิงรางวัลซีไรท์ ประกาศให้ผู้สนใจส่งหนังสือเข้าประกวด สมัยนั้นมีกติกาว่า ใครจะส่งเข้าประกวดก็ได้ ขอเพียงมีปัญญาส่งหนังสือเรื่องละ 20 เล่มให้คณะกรรมการที่โรงแรม Orientel ก็แล้วกัน ผู้จัดการสุสานเมืองหนังสือ เลยรวบรวมหนังสือสภาพดีและอยู่ในกติกาของคณะกรรมการ ส่งเข้าประกวด ส่ง ๆ ไปอย่างนั้นแหละ ไม่ได้หวังผลอะไร ส่งทั้งหมด 10 เรื่อง เรื่องละ 20 เล่ม เพื่อสนับสนุนกิจกรรม

แต่ที่ไหนได้ผลออกมาปรากฏว่า นักเขียนโนเนม แต่เคยได้รับรางวัลชนะเลศประเภทเรื่องสั้นของหอสมุดครูเทพที่ชื่อ ไพทูรย์ ธัญญา เป็นผู้ได้รับรางวัล เรื่องเลยไปกันใหญ่ เพราะพอได้รับรางวัล ก็เกิดปัญหา ผลประโยชน์มันมาก มีการแย่งสิทธิ์ในการพิมพ์ ระหว่างสำนักพิมพ์และเพื่อนของนักเขียน โดยนักเขียนไม่รู้จะทำอย่างไร ฝ่ายหนึ่งก็ผู้มีบุญคุณ อีกฝ่ายก็เพื่อน กว่าจะตกลงกันได้ก็ทำให้อับอายไปทั่ววงการ

แต่สำหรับ สัปเหร่ ผู้เอาศพมาตบแต่งและส่งเข้าประกวดก็ได้แต่ยิ้มอยู่ในใจ ดูเขาทะเลาะกัน นึกคัน ๆ จะเข้าไปร่วมด้วยเหมือนกัน แต่ภรรเมียเขาห้ามไว้ ก็ได้แต่เพียงเก็บก่อกองทรายเล่มที่เป็นซากแล้วไว้เป็นหนังสือแห่งความทรงจำและเพื่อเป็นกำลังใจให้นักเขียนหน้าใหม่ รวมทั้งเตือนสติสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ว่าอย่าประเมินนักเขียนหน้าใหม่ต่ำเกินไป ส่วนผลประโยชน์นั้น ทางสุสาน ก็ได้มามากมาย เพราะตอนหลัง ๆ นี้ขายได้สูงถึงเล่มละ 150 บาท ส่วนจะเหลืออยู่กี่เล่ม เป็นความลับทางการค้า เขาไม่บอกกันครับ

*ก่อกองทรายเล่มที่กล่าวถึงนี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 1 ที่สันปกจะมีการบาก แล้วเอาสีแดงทาไว้เพื่อเป็นสัญญาลักษณ์ว่า เอาไปเก็บไว้ที่สุสานหนังสือของเมืองหนังสือ และเป็นหนังสือเลหลัง แล้ว

กลับไปหน้าแรก