ผลงาน นายผี (อัศนี พลจันทร) อัยการคนเดียวของไทย

Table – hiorizontal alignment

อันดับที่ ชื่อเรื่อง หมายเหตุ
รหัส ชื่อหนังสือ หมายเหตุ
1001 ข้อคิดจากวรรณคดีอินทรายุธเขียน 2518-209หน้า 500
1002 เคล็ดกลอนเคล็ดแห่งอหังการ 300
1003* รำลึกจากป้าลม (บันทึกเรื่องราวของนายผี 300
1004 ศิลปาการแห่งกาพย์กลอน 300
1005 จิตรา ละครเก้าฉาก---อินทรายุธ(นายผี) 1/2534--191หน้า 500บาท
1006 ไรท์เตอร์ ฉบับ 55 เดือนเพ็ญกลับ้านสุรชัย จันทิมาธร 150
mail ถึงเมืองหนังสือ

กลับไปหน้าแรก

บันทึกถึงนายผีและป้าลม

คนแรกที่ทำให้ผมรู้จัก “นายผี” คือจิตร ภูมิศักดิ์ เพราะจิตร ยกย่อง นายผี ว่าเป็นต้นกำเนิดแห่งกวีเพื่อมวลชน

ต่อมาได้ข้อมูลเพิ่มจาก ถนนหนังสือฉบับ ตุลาคม 2528 , ไรเตอร์ ฉบับ ธันวาคม 2540 และ เนชั่นสุดสัปดาห์ 21 มกราคม 2542

ถนนหนังสือ ฉบับเดือน ตุลาคม 2528 กว่าครึ่งเล่มเป็นเรื่องราวของนายผี ในบทความของน้าหงา (สุรชัย จันทิมาธร) เผยที่มาของเพลง’’คิดถึงบ้าน’’(เดือนเพ็ญ) และบทความของ ชลธิรา สัตยาวัฒนา ที่เล่าเรื่องป้าลมตามไปดูแลนายผี กลางป่าแบบอิสระชน และ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ที่เขียนเล่าเรื่อง ‘ลุงไฟ’(นายผี)ที่เสกสรรค์ มีโอกาสร่วมงานกันเกือบหนึ่งปี ซึ่งสรุปในตอนท้ายเกี่ยวกับการหายตัวของนายผี เสกสรรค์เข้าใจว่า ตอนนั้น(2527)นายผีถูกกักตัวไว้ที่จีน โดยให้คำคมไว้ว่า ‘มนุษย์นี้ไม่กลัวอะไรมากเท่ากับคนกล้า เห็นที่ไหนต้องหาทางจับมาขัง’

ต้นปี 40ผมก็ได้รู้จักป้าลมตัวเป็น ๆ ตอนแรกผมระแวงว่าป้าแก้จะอ้างตัวเป็นภรรยานายผี ผมมีโอกาสพูดคุยอย่างสนุกในเรื่องการใช้ชีวิตในป่า ทีแรกนึกว่าแกฝอย ป้าลมเล่าว่านายผืเป็นระดับแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังรู้จักกัน ผมอาสาพาป้าลมไปเที่ยวตามที่ต่าง ๆ ไม่ว่าภูหินร่องกล้า และป่าแถวแม่สอด ถ้ำเขาน้ำค้างที่สงขลา-ปัตตานี รวมทั้งน้ำตกทีลอซู ที่ยิ่งใหญ่มากในสมัยนั้น และที่มันที่สุดก็คือได้ไปจังหวัดน่าน เพื่อย้อยรอยวันสุดท้ายที่ป้าลมลาจากคุณอัศ (นายผี)

ผมมีศูนย์หนังสืออยู่ที่จังหวัดน่าน และเป็นผู้กว้างขวางคนหนึ่ง จึงแอบพาป้าแกไปฟื้นความหลัง

เราหนีออกประเทศทางด่านห้วยโกร๋น (2539) ตอนนั้นเป็นด่านชั่วคราวให้คนลาวข้ามมาขายของในวันเสาร์ ส่วนคนไทยเขาไม่ให้ข้ามไปลาว นโยบายนี้เกิดขึ้นได้ยังไงไม่รู้ เราเกาะแมงกาไซค์ ข้ามจากด่านไทยไปสู่เมืองเงิน แล้วมุ่งสู่บ้านปากแบ่ง ซึ่งห่างจากชายแดนไทยประมาณ 50 กม. เราต้องเกาะแมงกาไซค์นานกว่า 2 ชั่วโมง ขึ้นเขาลงเขาอยู่ตลอดเวลาโดยมีจุดข้ามแม่น้ำโขงอยู่ที่บ้าน..บ้านห้วยแคน.............เยื้องกับ ตลาดปากแบ่ง

ที่ริมน้ำโขงป้าลมแกนั่งร้องไห้คนเดียวอยู่เป็นนาน ขณะที่ผมแก้ผ้าลงเล่นน้ำ นอนหงายตีกรรเชียงอยู่กลางลำน้ำโขง ต่างคนต่างไม่เรียกกันแม้นเวลาผ่านไปนาน

แต่แล้วป้าแกก็มาบอกผมว่าจะไม่กลับหรีอ ผมก็บอกว่ากำลังรอป้าว่าอยากกลับเมื่อใด

จากทิปนั้นทำให้ผมมั่นใจว่าป้าลมแกเป็นภรรยานายผีจริง ๆ ต่อมาแกก็ชวนผมตั้งสำนักพิมพ์ชื่อว่า..ทะเลหญ้า

แกวางแผนเน้นพิมพ์แต่ผลงานของนายผี ซึ่งป้าแกขอเป็นคนทำการทุกอย่าง ไม่ว่าผู้จัดการ บก.ฝ่ายการเงิน จัดจำหน่าย โดยยกตำแหน่ง ผู้จัการฝ่ายทุนให้ผม ผมจึงแนะนำให้แกไปหาคุณวินัย แห่งเคล็ดไทย ซึ่งก็ได้ผล เคล็ดไทยยอมเป็นนายทุนให้พิมพ์หนังสือชุดแรกเกี่ยวกับนายผี ทีเดียว 3 เล่มคือ...................................

ซึ่งผลปรากฏว่าขายดี

ระหว่างที่ป้าลมแกยุ่งอยู่กับการเผยแพร่ผลงานของสามีสุดที่รัก แกก็พยายามหาทางตามล่า นายผี ให้เจอ

แต่แล้วก็มีข่าวว่า คุณอัศได้เสียชีวิตแล้ว เมื่อปี 2530 ที่เมืองชายแดนจีน-ลาว ป้าแกไม่เชื่อ บอกว่าแกจะตามจนกว่าจะได้เห็นหลักฐาน ซึ่งผมก็ไม่ได้ว่าอะไรปล่อยให้แกตามล่าไปคนเดียว ผมยอมรับว่าป้าลมนี้ยอดจริง ๆ

แกเที่ยวไปขอความช่วยเหลือเขาไปทั่ว จนในที่สุดจากการประสานงานของท่านแอ๊ด คาราบาว ทำให้รัฐบาลลาวตกลงจะส่งมอบ อัฐิ และของใช้ส่วนตัวของนายผี ผ่านทางสมาคมมิตร-ภาพ ไทย-ลาว ในวันที่ .20 พฤศจิกายน 2540 กลางสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาวแห่งแรกที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งเรื่องนี้ผมเคยกระซิบถามป้าแกว่ามั่นใจว่าเป็นอัฐิของนายผีได้อย่างไร ป้าแกก็ว่าถ้าได้แว่นตาที่ใส่อยู่ประจำอีกสักอันก็จะดีเพราะป้าแก้จำได้แน่นอน

มีการนัดหมายล่วงหน้า ประมาณ 3 เดือน สามเดือนนี้ป้าแกวิ่งตัวเป็นเกลียวเลย โดยแกวางแผนและประสานงานกับกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้เป็นงานที่สมเกียรติที่สุดของ “นายผี” โดยตกลงว่าจะเอาอัฐิ ไปบรรจุไว้ที่กำแพงเพชร ในป่าอ้อย ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าแกจะเอาไปไว้ทำไมกลางป่า ก็เลยเสนอให้เอาไปบรรจุไว้ที่ ป่าช้าของเมืองหนังสือ มีการวางแผนอย่างดี โดยป้าแกสั่งให้ผมทำโน่นทำนี่ ผมทำตามคำสั่ง แต่ก็ต้องยุติลงเมื่อแกบอกว่า แกขอให้แบ่งที่ดินป่าช้าของเมืองหนังสือออกมา 1 ไร่ให้เป็นชื่อแก เพื่อสร้างเป็นอนุสรณ์สถานของนายผี แกจะสร้างบ้าน และร้านขายของ โดยเน้นขายหนังสือเกี่ยวกับนายผี ผมเก็เลยแนะนำให้แกเอาไปฝังไว้ที่เดิม ที่กำแพงเพชรน่าจะดีกว่า เพราะป่าช้าของเมืองหนังสือมีพื้นที่เพียง ไร่เดียวเท่านั้น และตั้งใจจะทำอนุสรณ์สถานรวมของนักเขียน ภายหลังทราบว่าป้าลมแกเอาอัฐิของนายผี ไปบรรจุไว้ที่ราชบุรี ตามคำแนะนำของญาติ ๆ

ตัดภาพไปที่พิธีรับอัฐิของนายผี ซึ่งจัดขึ้นที่ตัวเมืองหนองคายเมื่อวันที่.................................. โดยมีการส่งมอบกันกลางสะพานมิตรภาพกันเลยตามบันทึกของ เนชั่นรายสัปดาห์ดังนี้.............................................

งานรับมอบอัฐิครั้งนี้ยิ่งใหญ่จริง ๆ แต่แล้วก็มีปัญหาทำให้เกิดความแตกแยก

ระหว่างป้าลม กับผู้ประสานงานกลุ่มต่าง ๆ เรียกได้ว่าทุกกลุ่มเลย เพราะป้าแกข้องใจเรื่อง เงิน ๆ ทอง ๆ ซึ่งแกถามหาตอนงานจบ

โดยโวยวายว่าเงินที่ได้จากการจัดงานดังกล่าว ไม่รู้หายไปไหนหมด แกเหลือจริง ๆ เพียงห้าพันบาทเท่านั้น

คิดดูก็น่าเห็นใจนะ มีคนมาร่วมงานกว่าสามหมื่นคน มีการจัดงานข้ามจังหวัด ทั้งหนองคาย โคราช และ กทม. พิมพ์หนังสือขาย หลายหมื่นเล่ม มีการจัดคอนเสริดมากกว่าสามครั้ง ที่ธรรมศาสตร์ คนแน่นทุกรอบ รวมทั้งทำเทป ไม่น้อยกว่าสามพันตลับ แต่แล้วไม่มีเงินเหลือสำหรับเจ้าภาพเลย ทุกคนที่เกี่ยวข้องก็อ้างว่า ได้เข้ามาช่วยโดยสุจริต เงินทองที่ได้มาก็ใช้และบริจาคไปหมดแล้ว งานนี้มีการฟ้องร้องกันถึงโรงศาล โดยตอนแรกมีทนายเงินล้านคือคุณศุภชัย ใจสมุทรเป็นทนายให้ป้าลมซึ่งไม่รู้ว่ากว่าเรื่องจะจบ ป้าลมแกจะตายก่อนหรีอเปล่า เพราะเรื่องมันยาวจริง ๆ และที่สำคัญงานของนายผี ต้องจบลงด้วยสภาพเช่นนี้ ยังดีหน่อยที่ตอนท้าย ป้าลมแกตัดปัญหาเรื่องเพลงเดือนเพ็ญ ซึ่งกำลังมีปัญหากับแกรมมี่ โดยแกประกาศให้เป็นสาธารณะสมบัติ ใครจะเอาไปทำต้มยำแกงปลาอย่างไรก็ช่าง ของเพียงให้รักษาเนื้อเพลงไว้คงเดิมก็แล้วกัน ใครไม่เชื่อป้าขอสาบจริง ๆ ด้วย

ผมเองก็รอดจากการตกเป็นจำเลย เพราะหนีออกมาได้จากโครงการที่ป้าลมแกฝันได้อย่างหวุดหวิด ไม่งั้นคงถูกด่าจนปนปี้เหมือนน้าแอ๊ด มหาเศษรฐีเพื่อชีวิตรุ่นใหม่ของไทย อีกคนเป็นแน่